เกษตรชลบุรี ต่อยอด “โมเดลการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่” หวังยกอำเภอพนัสนิคมเป็นพื้นที่นำร่องต้นแบบการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม

เกษตรชลบุรี ต่อยอด “โมเดลการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่” หวังยกอำเภอพนัสนิคมเป็นพื้นที่นำร่องต้นแบบการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม
19/02/2020 mainadmin

233060

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 นายบุญลือ คงสูงเนิน หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี ร่วมกับกองวิจัยและพัฒนาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 3 จังหวัดระยอง และสำนักงานเกษตรอำเภอพนัสนิคม จัดเวทีแบบมีส่วนร่วม ครั้งที่ 1 ตามโครงการแนวทางการศึกษาต้นแบบการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลหัวถนน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

233065

ในปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตรได้สร้าง “โมเดลการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่” ในพื้นที่ 6 จุดนำร่อง สู่พื้นที่ต้นแบบที่จำทำการศึกษาต่อยอดโมเดล ได้แก่ จังหวัดลพบุรี จังหวัดราชบุรี จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดตรัง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดชลบุรี ซึ่งคัดเลือกพื้นที่อำเภอพนัสนิคมเป็นพื้นที่นำร่องในการศึกษาการนำโมเดลการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่มาใช้ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการนำรูปแบบการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่มาใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agrimap) ในพื้นที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม มีเป้าหมายดำเนินการจัดเวทีแบบมีส่วนร่วม 5 ครั้ง โดยชุมชนร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมลงมือทำ และร่วมรับผล อันจะก่อให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

233063

สำหรับเวทีในวันนี้ มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อม สร้างความเข้าใจ ปรับประบวนทัศน์ในการดำเนินงานโครงการ ตลอดจนวิเคราะห์สถานการณ์ของพื้นที่ และกำหนดเป้าหมายร่วมของการพัฒนาเพื่อจัดทำแผนพัฒนาแบบมีส่วนร่วมระหว่างเกษตรกรเป้าหมายและเจ้าหน้าที่  มีเกษตรกรเข้าร่วมมากกว่า 30 ราย เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและมันสำปะหลังจากตำบลหนองปรือ นาวังหิน หัวถนน สระสี่เหลี่ยม และหนองเหียง ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือเรื่องสภาวะภัยแล้ง ปัญหาเรื่องดิน ราคาผลผลิตตกต่ำ ต้นทุนสูง ผลผลิตต่อไร่น้อยและคุณภาพไม่ดี ขาดแคลนแรงงาน โดยเกษตรกรเสนอทางเลือก

233068

การดำเนินงานดังกล่าวเป็นการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์โดยรอบ การพิจารณาศักยภาพด้วยเทคโนโลยีแผนที่ การวางแผนบริหารจัดการสินค้าเกษตรและการวางแผนการพัฒนาชุมชนการเกษตร จนถึงการเชื่อมโยงเครือข่าย เป็นรูปแบบการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรแบบใหม่ที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงทั้งปัจจัยภายนอก ภายใน ปิดจุดอ่อน และรุกในจุดแข็งบนความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งเป้าผลสำเร็จของโครงการนี้เชื่อมั่นว่าจะทำให้เกษตรกรมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ขึ้น และมีการขยายผลความสำเร็จไปสู่พื้นที่อื่นต่อไปในอนาคต

233067

233066

233055

233059

233062

233061

233057

233056

Comments (0)

Leave a reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*